อสูรกับคนญี่ปุ่น จากนิทานปรัมปราสู่เรื่องราวในดาบพิฆาตอสูร

คําตอบโดย ศ.เกียรติคุณ ดร. โคมัตสึคาซุฮิโกะ


 

คําถามและความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องอสูร

จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ภาพความน่ากลัวที่มาพร้อมอสูรในตํานานต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?

ในบันทึกทางประวัติศาตร์หรือนิทานปรัมปราต่างๆ ตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน บรรยายไว้ว่าอสูรเป็นสิ่งมีชีวิตรูปร่างแปลกประหลาด ดูคล้ายมนุษย์ แต่ก็ไม่อาจมองว่าเป็นมนุษย์ได้ หรืออาจปลอมตัวมาให้เหมือนกับมนุษย์

แต่ก็ไม่สามารถปกปิดนิสัยที่ชอบกินเลือดเนื้อมนุษย์ได้อย่างไรก็ตาม ในยุคโบราณ มีความเป็นไปได้อย่างมากที่มนุษย์จะตัดสินว่า เผ่าพันธุ์ที่ต่างไปจากตนหรือกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพอื่นนอกเหนือจากเกษตรกรรมเป็น ‘อสูร’ ระหว่างช่วงปลายยุคโบราณจนถึงยุคกลาง จะเห็นแนวความคิดว่า มนุษย์มองว่าโรคระบาดเป็น ‘อสูร’ เมื่อเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ เมื่อเกิดแนวความคิดว่า โรคภัยไข้เจ็บเกิดจากแมลงที่อยู่ในร่างกาย การเชื่อมโยง ‘อสูร’ เข้ากับโรคระบาดก็ค่อยๆ เลือนหายไป

นอกจากนี้ ตัวตนหรือลักษณะความไม่ชอบมาพากลที่นําพาอันตรายมาสู่มนุษย์ก็แตกแขนงออกไปหลากหลาย ‘อสูร’ จึงกลายเป็นเพียงลักษณะหนึ่งในนั้น ท้ายที่สุด จึงนํามาสู่ความคิดที่ว่า ‘อสูร’ ย่อมอาศัยอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งซึ่งอยู่ชายแดนของโลกมนุษย์อย่างไรก็ตาม สาเหตุของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเช่น ฝนตกหนัก อุทกภัย หรือแผ่นดินไหวนั้น โดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับงูยักษ์หรือมังกร ไม่เห็นความเชื่อมโยงกับอสูรโดยตรง

นักพรต (ตามวิถีแห่งองเมียว) อยู่ในฐานะผู้ปราบอสูรใช่หรือไม่?

กล่าวกันว่า ในบรรดานักบวชหรือผู้ศรัทธาในศาสนาซึ่งมีบทบาทในการเผยแพร่แนวคิดเรื่อง ‘อสูร’ นั้น ศูนย์กลางอยู่ที่เหล่านักพรตตามวิถีแห่งองเมียว (หรือ ‘องเมียวจิ’) อย่างไรก็ตาม งานหลักของนักพรตเหล่านี้คือ การเฝ้าสังเกตสรรพสิ่งในจักรวาล จัดทําปฏิทิน และการทํานายดวงชะตาโดยอาศัยความรู้เรื่องดวงดาวเหล่านั้น

แต่ทว่า เมื่อเหล่านักพรตพิจารณาว่าสิ่งใดคือโชคร้าย พวกเขาก็ไม่อาจปล่อยทิ้งไว้เช่นนั้นได้จะต้องเปลี่ยนร้ายให้กลายเป็นดีชาวบ้านต่างคาดหวังให้พวกเขาปัดเป่าเคราะห์ร้ายนั้นออกไป นักพรตจึงมีบทบาทในฐานะหมอผีหรือนักไสยเวทเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ในกรณีที่นักพรตตีความว่าอสูรคือสาเหตุของโชคร้าย พวกเขาจะใช้คาถาขับไล่อสูรออกไป แต่เอาจริงๆ ก็ไม่สามารถปราบปรามได้อย่างเด็ดขาดสักเท่าไหร่ ถ้าลองดูในตํานานขับไล่อสูรชื่อดัง เช่น ตํานานชูเท็นโดจิ (Shuten-Doji) ก็จะเห็นว่านักพรตแค่ทําหน้าที่วิเคราะห์สาเหตุโดยใช้วิธีการทํานายว่า เหตุการณ์แปลกประหลาดที่เกิดขึ้นในเมืองเป็นฝีมือของอสูร แต่หน้าที่ในการปราบปรามอสูรเป็นของนักรบกลุ่มมินาโมโตะ โนะ โยริมิตซึ

รู้สึกสนใจเกี่ยวกับตํานานเทพญี่ปุ่นและนิทานปรัมปรา ช่วยแนะนําเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษได้ไหม?

มีเยอะแยะเลยครับ ลองค้นหาในเว็บ Amazon ด้วยคําว่า Japanese mythology ก็จะเจอหนังสือเกี่ยวกับตํานานเทพญี่ปุ่นในภาษาอังกฤษ ลองเลือกเล่มที่ตัวเองสนใจจากลิสต์ในนั้นก็ได้ครับ นอกจากนี้ ผมคิดว่าในห้องสมุดของเจแปนฟาวน์เดชั่น สํานักงานกรุงเทพก็น่าจะมีหนังสือตํานานเทพญี่ปุ่นหรือนิทานปรัมปราอยู่หลายเล่มนะครับ

ตัวตนของอสูรและภูติผีปีศาจมีอิทธิพลอย่างไรต่อแนวคิดและพฤติกรรมของชาวญี่ปุ่นบ้าง?

อสูรคือสิ่งมีชีวิตที่ถูกจินตนาการให้เป็นขั้วตรงข้ามกับมนุษย์ หรือกล่าวอีกอย่างได้ว่า ตัวตนที่ปฏิเสธอสูรก็คือมนุษย์นั่นเอง ด้วยเหตุนี้จึงเกิดแนวความคิดที่ว่า หากมนุษย์หลุดออกนอกสภาพที่มนุษย์คาดหวังจะเป็นในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ก็จะกลายเป็นอสูร หากใครมีพฤติกรรมเลวร้าย เช่น ฆ่าคนอย่างป่าเถื่อน ใช้ความรุนแรง หรือกินเนื้อมนุษย์ก็จะถูกเปรียบว่าเป็นอสูร หรือมีคําเรียกโค้ชที่เอาแต่สั่งให้ฝึกซ้อมอย่างไม่ยืดหยุ่นว่า “โค้ชอสูร” การแปะป้าย “อสูร” เข้าไปทําให้ผู้ที่โดนตราหน้ากลายเป็น “สิ่งผิดปกติ” “เกินกว่าเหตุ” “ออกนอกลู่นอกทาง” หรือ “ชวนให้หวาดหวั่นน่า

กลัว” เมื่อก่อน สมัยที่ผมสอนอยู่ในมหาวิทยาลัย บางครั้งผมก็เผลอดุว่านักศึกษาที่นําเสนองานแย่ๆ อย่างรุนแรง ตอนนั้น พวกนักศึกษาก็พากันหาว่าผมเป็นอสูร ไม่ก็เหมือนอสูร พอโดนว่าแบบนั้น ผมก็ชูสองนิ้วไว้บนศีรษะเป็นสัญลักษณ์ทําตัวเลียนแบบเขาของอสูรซะเลย ให้พวกเขารู้ว่าผมกําลังโกรธจัด ตอนที่ผมได้รู้ว่าลูกศิษย์เรียกผมแบบนี้ บางทีผมก็สํานึกผิด แต่บางทีก็คิดว่า ถูกเรียกว่าอสูรก็ไม่เห็นจะเป็นอะไร สรุปได้ว่าชาวญี่ปุ่นค่อยๆ เรียนรู้ว่า ลักษณะของมนุษย์ที่
ดีเป็นอย่างไรผ่านแนวคิดเรื่องอสูรนั่นเอง

แต่เราต้องไม่ลืมว่าคอนเซปต์เรื่องอสูรนี้เป็นแนวคิดเชิงขั้วตรงข้าม หากมองจากมุมมองของคนที่โดนตราหน้าว่าเป็นอสูร คนที่แปะป้ายให้คนอื่นนั่นแหละที่เป็นอสูรเสียเอง ถ้าเราขีดฆ่าคําว่าอสูรออกจากการใช้ภาษาของชาวญี่ปุ่นหรือห้ามใช้คําดังกล่าว ภาษาก็คงคับแคบไร้อิสระอย่าที่จินตนาการไม่ออกเลยทีเดียว

คําถามและความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องดาบพิฆาตอสูร

ช่วยอธิบายความสําคัญเกี่ยวกับพลังของน้องสาว, ระบบฮิเมะ – ฮิโกะ กับดาบพิฆาตอสูรให้ฟังหน่อยครับ

คาดกันว่า ในประเทศญี่ปุ่น ยุคก่อนและหลังสถาปนาราชวงศ์ยามาโตะได้ไม่นาน พระราชอํานาจถูกกําหนดตามโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง พี่สาวหรือน้องสาวรับหน้าที่ประกอบพิธีกรรม ในขณะที่พี่ชายหรือน้องชายดูแลบริหารงานทางโลก เช่น การทหาร ต้นแบบของเรื่องนี้คือ การปกครองของจักรพรรดินีฮิมิโกะและน้องชายในอาณาจักรยามาไต เชื่อกันว่าแนวคิดดังกล่าวสะท้อนอยู่ในตัวละคร “เทพอามาเทราสึ” และ “เทพซูซาโนโอะ” ในตํานานเทพญี่ปุ่นด้วย

นอกจากนี้ ในศาลเจ้าเก่าแก่หรือตํานานเทพโบราณ เราจะพบชื่อเทพเจ้าในลักษณะเป็นคู่หญิงชายในฐานะบรรพบุรุษประจําภูมิภาคนั้นๆ เช่น อิเสะสึฮิโกะ – อิเสะสึฮิเมะ, อาโสะสึฮิโกะ – อาโสะสึฮิเมะ และยังมีพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นแนวคิดเรื่องเทพเจ้าพี่น้องหญิงชายมากกว่าจะเป็นเทพเจ้าสามีภรรยา มีตํานานที่แสดงให้เห็นร่องรอยของยุคสมัยที่แบ่งความรับผิดชอบด้านพิธีกรรมกับอํานาจการปกครองทางโลกด้วยระบบพี่น้องหญิงชาย และในบางกรณีเราก็เรียกสิ่งนี้ว่า “ระบบฮิเมะ-ฮิโกะ” ดูเหมือนว่า ในยุคสมัยหนึ่ง ผู้คนมองว่าความสัมพันธ์ทางสายเลือดระหว่างพี่น้องแน่นแฟ้นและเชื่อถือได้มากกว่าความสัมพันธ์ในชีวิตสมรส

นอกจากนี้ความคิดเรื่องพี่สาวหรือน้องสาวเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมนั้น ยังสามารถมองว่าเป็นแนวคิดเพื่อการปกป้องพี่น้องผู้ชายด้วยความสามารถทางพิธีกรรม (พลังทางวิญญาณ) ได้เช่นกัน โดยเฉพาะในจังหวัดโอกินาวะ ปัจจุบันก็ยังเชื่อกันว่า น้องสาวมีพลังปกป้องพี่ชายทางจิตวิญญาณ และเรียกพลังดังกล่าวว่า “โอนาริ” นักวิชาการด้านคติชนวิทยา คุนิโอะ ยานากิตะเรียกสิ่งนี้ว่า “พลังแห่งน้องสาว” แม้ว่าแนวคิดเช่นนี้จะค่อยๆ เลือนหายไป แต่ก็ยังพบเห็นฐานความคิดดังกล่าวได้ในประเทศญี่ปุ่น

ในผลงานชิ้นเอกของนักเขียน โมริโอไก ชื่อ “ซันโชไดโอ” (ในภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า Sansho the Bailiff) พูดถึงเรื่องราวของพี่สาวอันจุกับน้องชายสุชิโอมารุส่วนในซีรีย์เรื่อง “โอโตโกะ วะ สึไรโย” (ในภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า It’sTough Being a Man) เกี่ยวกับตัวละครโทระซังของผู้กํากับโยจิยามาดะ ก็กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างโทราจิโร่กับซากุระ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็น “พลังแห่งน้องสาว” เช่นเดียวกัน

มีเรื่องราวที่กล่าวถึงกลิ่นเหม็นของอสูรอยู่จริงไหม (ในเรื่อง “ดาบพิฆาตอสูร” ตัวละครเอกแยกแยะอสูรจากการดมกลิ่น)

เรื่องกลิ่นเหม็นของอสูรนี้ผมไม่เคยเจอนะครับ แต่มีสํานวนโวหารว่า สายลมเหม็นคาวพัดผ่านยามภูติผีปีศาจ (รวมถึงอสูร) หรือวิญญาณจะปรากฎตัว ผมขอเพิ่มเติมข้อมูลอีกด้านนะครับ ในทางกลับกัน ดูเหมือนว่า อสูรจะมีประสาทการรับรู้ด้านกลิ่นที่ดีเยี่ยมกว่ามนุษย์เพราะอสูรมักบอกว่า “เหม็นกลิ่นมนุษย์เหม็นกลิ่นมนุษย์” เวลาที่มีมนุษย์หลบซ่อนอยู่ตามซอกหลืบของบ้าน

มีเรื่องราวที่เล่าว่า “อสูรแปลงกายเป็นมนุษย์” อยู่จริงไหม (ในเรื่อง “ดาบพิฆาตอสูร” อสูรแปลงร่างเป็นมนุษย์)

เชื่อกันว่า อสูรสามารถแปลงร่างเป็นมนุษย์ได้ตั้งแต่ยุคโบราณ เพราะมีปรากฎอยู่ในบันทึกรวมเรื่องเล่าทางพุทธศาสนาซึ่งรวบรวมไว้ตั้งแต่สมัยเฮอันตอนต้นชื่อ “นิฮอง เรียวอิกิ” (เอกสารอ้างอิงระหว่างการเสวนา 2) ก่อนที่อสูรจะเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง หากอสูรตกอยู่ในที่นั่งลําบาก อสูรจะปิดบังร่างจริงที่ทําให้มนุษย์รู้สึกหวาดกลัวเอาไว้ แล้วแปลงร่างเป็นมนุษย์เพื่อปรากฎตัวออกมาแทน คุณสมบัติเรื่องการแปลงร่างนี้ เป็นวิธีการเก่าแก่ในเรื่องราวของอสูรที่แสนน่ากลัว แสดงว่า อสูรมีพลังในการแปลงร่างมาตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงยุคปัจจุบัน หลังจากยุคสมัยใหม่เป็นต้นมาอสูรได้กลายเป็นคาแรคเตอร์การ์ตูนต่างๆ ลักษณะของอสูรตามรูปแบบมาตรฐานจึงปรากฎในสื่อหลายประเภท เช่น นิทานภาพ

อสูรกับดอกฮิกังบานะ (Spider lily) มีความสัมพันธ์กันอย่างไร (ในเรื่อง “ดาบพิฆาตอสูร” อสูรจะใช้ดอกฮิกังบานะสีน้ําเงินเป็นเครื่องมือเอาชนะแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นจุดอ่อนของอสูร)

ดอกฮิกังบานะสีน้ําเงินไม่มีอยู่จริง เท่าที่ผมศึกษามา ดอกไม้นี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับอสูรแต่โบราณ น่าจะเป็นไอเดียสร้างสรรค์ของผู้เขียนมากกว่า ดอกฮิกังบานะเป็นดอกไม้สีแดงสดที่เบ่งบานอย่างฉับพลันในช่วงฮิกัง (ช่วงเวลา 7 วันที่เปลี่ยนจากฤดูร้อนไปสู่ฤดูใบไม้ร่วง) เหง้ามีพิษ กินไม่ได้นอกจากนี้ช่วงฮิกังคือช่วงเวลาสําหรับไหว้วิญญาณของเหล่าบรรพบุรุษ ดอกไม้นี้จึงมีภาพลักษณ์เกี่ยวพันกับวัด สุสาน และโลกหน้า (โลกหลังความตาย) อย่างลึกซึ้ง มีชื่ออื่นๆ ว่า “ยูเรบานะ (ดอกไม้วิญญาณ), ชิบิโตะบานะ (ดอกไม้แห่งคนตาย), ฮากะบานะ (ดอกไม้แห่งสุสาน) หรือ “จิโกคุบานะ (ดอกไม้แห่งขุมนรก) ผู้เขียนน่าจะสังเกตเห็น “คุณสมบัติที่สัมพันธ์กับโลกหลังความตาย” เหล่านี้ก็เลยปรับเปลี่ยนจาก “ดอกไม้สีแดง” มาเป็น “ดอกไม้สีน้ําเงิน”

รู้สึกสนใจเกี่ยวกับตํานานเทพญี่ปุ่นและนิทานปรัมปรา ช่วยแนะนําเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษได้ไหม?

มีเยอะแยะเลยครับ ลองค้นหาในเว็บ Amazon ด้วยคําว่า Japanese mythology ก็จะเจอหนังสือเกี่ยวกับตํานานเทพญี่ปุ่นในภาษาอังกฤษ ลองเลือกเล่มที่ตัวเองสนใจจากลิสต์ในนั้นก็ได้ครับ นอกจากนี้ ผมคิดว่าในห้องสมุดของเจแปนฟาวน์เดชั่น สํานักงานกรุงเทพ ก็น่าจะมีหนังสือตํานานเทพญี่ปุ่นหรือนิทานปรัมปราอยู่หลายเล่มนะครับ

ตัวตนของอสูรและภูติผีปีศาจมีอิทธิพลอย่างไรต่อแนวคิดและพฤติกรรมของชาวญี่ปุ่นบ้าง?

อสูรคือสิ่งมีชีวิตที่ถูกจินตนาการให้เป็นขั้วตรงข้ามกับมนุษย์ หรือกล่าวอีกอย่างได้ว่า ตัวตนที่ปฏิเสธอสูรก็คือมนุษย์นั่นเอง ด้วยเหตุนี้จึงเกิดแนวความคิดที่ว่า หากมนุษย์หลุดออกนอกสภาพที่มนุษย์คาดหวังจะเป็นในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ก็จะกลายเป็นอสูร หากใครมีพฤติกรรมเลวร้าย เช่น ฆ่าคนอย่างป่าเถื่อน ใช้ความรุนแรง หรือกินเนื้อมนุษย์ก็จะถูกเปรียบว่าเป็นอสูร หรือมีคําเรียกโค้ชที่เอาแต่สั่งให้ฝึกซ้อมอย่างไม่ยืดหยุ่นว่า “โค้ชอสูร” การแปะป้าย “อสูร” เข้าไปทําให้ผู้ที่โดนตราหน้ากลายเป็น “สิ่งผิดปกติ” “เกินกว่าเหตุ” “ออกนอกลู่นอกทาง” หรือ “ชวนให้หวาดหวั่นน่ากลัว”

เมื่อก่อน สมัยที่ผมสอนอยู่ในมหาวิทยาลัย บางครั้งผมก็เผลอดุว่านักศึกษาที่นําเสนองานแย่ๆ อย่างรุนแรง ตอนนั้น พวกนักศึกษาก็พากันหาว่าผมเป็นอสูร ไม่ก็เหมือนอสูร พอโดนว่าแบบนั้น ผมก็ชูสองนิ้วไว้บนศีรษะเป็นสัญลักษณ์ทําตัวเลียนแบบเขาของอสูรซะเลย ให้พวกเขารู้ว่าผมกําลังโกรธจัด ตอนที่ผมได้รู้ว่าลูกศิษย์เรียกผมแบบนี้ บางทีผมก็สํานึกผิด แต่บางทีก็คิดว่า ถูกเรียกว่าอสูรก็ไม่เห็นจะเป็นอะไร สรุปได้ว่าชาวญี่ปุ่นค่อยๆ เรียนรู้ว่า ลักษณะของมนุษย์ที่ดีเป็นอย่างไรผ่านแนวคิดเรื่องอสูรนั่นเอง

แต่เราต้องไม่ลืมว่าคอนเซปต์เรื่องอสูรนี้เป็นแนวคิดเชิงขั้วตรงข้าม หากมองจากมุมมองของคนที่โดนตราหน้าว่าเป็นอสูร คนที่แปะป้ายให้คนอื่นนั่นแหละที่เป็นอสูรเสียเอง ถ้าเราขีดฆ่าคําว่าอสูรออกจากการใช้ภาษาของชาวญี่ปุ่นหรือห้ามใช้คําดังกล่าว ภาษาก็คงคับแคบไร้อิสระอย่าที่จินตนาการไม่ออกเลยทีเดียว


ข้อมูล: เจแปนฟาวน์เดชั่น สํานักงานกรุงเทพ